วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

Supply chain คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร

Supply Chain เป็นกิจกรรมที่มีการปะทะสัมพันธ์หรือ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างการจัดซื้อกับการตลาดในลักษณะที่เป็นบูรณาการ การค้าในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน ทั้ง Logistics และ Supply Chain ต่างก็จะมีภาระหน้าที่ (Function) แตกต่างกันในอาณาบริเวณของตลาด โดยต่างก็เป็นกิจกรรม ที่ส่งเสริมการตลาด และการผลิตโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน
คำนิยามของ Supply Chain เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบูรณาการ (Integration) และการจัดการในองค์กรที่ได้มีการนำห่วงโซ่อุปทานและยังรวมถึงกิจกรรมต่างๆ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมความสัมพันธ์และความร่วมมือ ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกรรมในอันที่จะสร้างเสริมให้มีมูลค่าเพิ่มในสินค้าแะบริการอันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
มีปฏิสัมพันธ์ของการจัดการกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปทานของสินค้าและบริการ โดยการปฏิสัมพันธ์จะมีลักษณะเชิงบูรณาการ โดยมีเป้าหมายในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม และสนองตอบต่อความต้องการของตลาด , การผลิต , การกระจายและการส่งมอบสินค้าและรวมถึงการสื่อสารสนเทศของข้อมูลและข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดต้นทุนรวมของธุรกิจและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน จะเห็นได้ว่าการจัดการซัพพลายเชนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งของวัตถุดิบต้นน้ำ (Up stream Source) จนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการปลายน้ำ (Down stream Customers) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะครอบคลุมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดและการผลิต รวมถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจนถึงมือผู้ต้องการสินค้า ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆ จะมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะของบูรณาการ โดยมุ่งที่จะลดต้นทุนรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ อันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า ทั้งนี้ ภาระกิจสำคัญของ Supply Chain จะมุ่งให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด โดยเน้นในเรื่องประสิทธิผลเชิงต้นทุน และผลตอบแทนทางธุรกิจก็คือ Profit Gain Satisfaction
Supply Chain เป็นเรื่องของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการวางแผนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะ Marketing Mixed (ส่วนผสมการตลาด) ซึ่งจะเห็นว่า Supply Chain จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Product Concept (แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์) , Product Design , Raw Material Supply (การจัดหาวัตถุดิบ) , Production Process (ขบวนการเกี่ยวกับการผลิต) , Transport , Warehouse และ Distributor (การกระจายสินค้า) เพื่อจัดจำหน่ายต่อไปยังผู้ค้าส่งและร้านค้าปลีก จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย (End Consumers) กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า “ห่วงโซ่ของการสร้างมูลค่า” หรือ “VALUE CHAIN” มีนักวิชาการโลจิสติกส์บางท่าน กล่าวถึง Logistics และ Supply Chain ต่างเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes Moving) โดยกล่าวว่า Logistics จะเป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะภายในองค์กร และ Supply Chain เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างองค์กร ซึ่งผู้เขียนก็จะมีความเห็นที่ต่างออกไป คือ “Logistics เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย (Moving) สินค้าและบริการ ทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กร” ส่วน Supply Chain จะเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับองค์กร ทั้งที่เป็นส่วนอุปสงค์ (Demand) และส่วนของอุปทาน (Supply Side) ในลักษณะที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุน การเคลื่อนย้าย (Moving) ในความหมายนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะกิจกรรมขนส่งที่เป็น Transport เท่านั้น แต่รวมถึงกระบวนการในการส่งต่อที่มีผลทางกายภาพให้วัตถุดิบ-สินค้า-บริการ มีการเคลื่อนย้ายจาก Origin Sources ไป End Sources ส่วนคำว่า Chain นั้นผู้เขียนเจตนาที่จะใช้คำว่าห่วงโซ่ ไม่ใช้คำว่า “โซ่” เหมือนในบางตำรา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า Supply Chain เป็นเรื่องของบูรณาการ Chain ในความหมายที่เป็น ห่วงโซ่ จะให้เห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าเป็นห่วงของแต่ละโซ่ที่สอดคล้องร้อยรัดแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้องใน Supply Chain เข้าด้วยกันในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นวงแหวน
ความสำคัญของ Supply chain
Supply Chain มองตั้งแต่การผลิตไปถึงการขนส่ง และไปถึงลูกค้าเป็นเหตุผลให้คำว่า “การผลิต” เป็นคำต่อท้ายอยู่คู่กับ “โลจิสติกส์” เป็นการแสดงให้เห็นว่าทั้งสองส่วนต้องอยู่ควบคู่กันไป (โลจิสติกส์ Logistics เป็นเรื่องของการจัดการ การจัดสรร วางแผนให้อุปกรณ์ เครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ กิจกรรม และบุคลากร ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกันและเกิดประสิทธิผล บางครั้งโลจิสติกส์ (Logistics)เกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีรถบรรทุกหรือคลังสินค้าเลย แต่ต้องอาศัยการจัดการและระบบที่ดีเยี่ยม ในวันนี้ การจัดการเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ ต่างยืนอยู่บนการจัดการ)
สิ่งที่จะได้รับจากการจัดการ Supply Chain ที่ดี
- ช่วยปรับปรุงข้อมูลตัวเลขสินค้าคงคลังให้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
- ช่วยจัดการการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ใช้สอยภายในคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ช่วยสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
- ช่วยแนะนำนโยบายในการจัดเก็บสินค้าได้หลากหลายวิธีและง่ายในการค้นหา
- กำหนดและมอบหมายงานที่ดีที่สุดให้ผู้ปฏิบัติงาน (Task Optimization)
- ตรวจนับสินค้า(Physical Count)ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องหยุดระบบ
- สามารถอิมพลิเมนท์ได้ทั้งในองค์กรที่มีคลังสินค้าเดี่ยว และในองค์กรที่มีมากกว่า 1คลังสินค้า
- สามารถอิมพลิเมนท์และขึ้นระบบได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในธุรกิจประเภทผู้ให้บริการขนส่ง ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง
สรุป
Supply Chain เป็นการจัดการบริหารตั้งแต่การขนส่งไปจนถึงการผลิตที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงความสัมพันธ์กับระบบ CRM คือ สินค้าผลิตได้มีคุณภาพ เสร็จตามกำหนดเวลา ลูกค้าได้สินค้าตามกำหนด และมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ก็เกิดความประทับใจ พึงพอใจในสินค้าและบริการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น