วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

4.Should Wal-Mart require all its suppliers to use RFID? Why or why not? Explain your answer.

ในมุมของผู้สนับสนุนวัตถุดิบหรือสินค้า (Supplier) ให้แก่ Wal-Mart ในระยะยาวก็คงจะเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดที่จะใช้ RFID แทน Barcode แบบเก่า เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและรวมถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตแต่ถ้ามองในแง่ของผู้บริโภคก็คงไม่เห็นด้วยในขณะนี้จนกว่า Wal-Mart จะมีคำตอบที่เหมาะสมให้กับ 2 คำถามดังต่อไปนี้
1.ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่อมาจากการ Implement ระบบ RFID จะถูกรับผิดฃอบโดยใคร หรือจะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคด้วยการบวกเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้า
2.RFID ทำงานด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อยากทราบว่ามีงานวิจัยอะไรหรือไม่ที่สนับสนุนว่าคลื่นความถี่วิทยุเหล่านั้นไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทารกหรือผู้ป่วยหากประเด็นเหล่านี้ได้รับการชี้แจงคงทำให้ผู้บริโภคปลายน้ำรับรู้และช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้า

3.What conditions would make adopting RFID more favorable for suppliers?

1.Wal-Mart ควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งและบังคับใช้ระบบ RFID ซึ่งจะใช้วิธีการใดก็ได้เพื่อให้เป็นธุรกิจแบบ Win-Win
2.ควรเริ่มเมื่อเทคโนโลยี RFID ได้รับการพัฒนาจนถึงจุดที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคว่าไม่มีผลกระทบใดๆต่อสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงในแง่ของต้นต่อหน่วยให้ลดต่ำลงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ามากนัก

2.What management, organization, and technology factors explain why Wal-Mart suppliers had trouble implementing RFID systems?

หากมองในระยะสั้นแล้วจะเห็นว่า Transaction cost เพิ่มขึ้นซึ่ง Wal-Mart ไม่ได้ร่วมรับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่ในทางตรงข้ามกับผลักภาระนี้ให้กับ Supplier รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว กอร์ปกับต้องใช้ระบบนี้ในขณะที่เทคโนโลยี RFID ยังอยู่ในช่วงที่กำลังพัฒนาซึ่งยังไม่สิ้นสุดและสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจหมายความว่า Supplier อาจต้องมีการลงทุนเพิ่มในการปรับปรุงระบบในอนาคตก็เป็นได้ อีกทั้งต้นทุนต่อหน่วยของระบบ RFID ในขณะนั้นก็ยังมีราคาแพงซึ่งอยู่ระหว่าง 25-75 เซ็นต์ต่อชิ้น ยิ่งไปกว่านั้นในสินค้าบางประเภท เช่นของเหลว โลหะ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้กับทารก ก็มีความอ่อนไหวที่จะนำระบบนี้ไปใช้ เนื่อง RFID ทำงานอยู่บนคลื่นความถี่วิทยุซึ่งสามารถจะถูกดูดซึมและปะปนอยู่บนตัวสินค้าเหล่านี้ได้ซึ่งส่งผลกระทบกับความมั่นใจของผู้บริโภค นั่นหมายความว่าการที่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเข้าไปแก้ปัญหาโดยการใช้ RFID ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพย่อมแปรผันตรงกับราคาที่จะย้อนกลับมาเป็นต้นทุนของ Supplier แต่ละราย

1. How is RFID technology related to Wal-Mart 's business model? How does it benefit supplier?

Wal-Mart มีแนวคิดที่จะใช้ RFID ในการช่วยบรรเทาปัญหาสินค้าขาดสต๊อกในร้านสาขาย่อยของบริษัท โดยเริ่มต้นทำการติดตั้งและใช้ระบบ RFID Tag นี้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ใน 7 ร้านสาขาย่อยที่อยู่ในรัฐเท็กซัส ซึ่ง Wal-Mart คาดหวังว่าเมื่อระบบนี้ประสบความสำเร็จจะทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลใน RFID นี้จะถูกรวบรวมและประมวลผลปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ให้บริษัททราบการเดินทางของสินค้าแต่ละรายการจากทุก Supplier ตั้งแต่โกดังที่ท่าเทียบเรือไปจนถึงชั้นวางสินค้าในร้านสาขาย่อย ข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้ Wal-Mart ลดปัญหาสินค้าขาดสต๊อก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนในระยะยาวลงได้
ในแง่ของผลประโยชน์ที่ Supplier ของ Wal-Mart ทุกรายจะได้รับหากทำการติดตั้งและเข้าร่วมการใช้ระบบนี้กับบริษัทนั่นก็คือ คำสั่งซื้อและยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างอัตโนมัติในทันทีที่สินค้าสต๊อกในระบบพร่องลงไป เนื่องจาก Wal-Mart จะแบ่งปันข้อมูลการค้าปลีกให้แก่ Supplier ที่เข้าร่วมผ่านทางโครงข่าย Extranet ของบริษัทโดยตรง ซึ่งจะทำให้ Supplier ทราบทันทีภายใน 30 นาที หลังจากสินค้ารายการนั้นๆมีการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สิ่งที่ Wal-Mart อนุญาตและยอมรับก็คือ การให้ Supplier ดังกล่าวทำการเติมเต็มสินค้ารายการนั้นๆได้ทันที

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

Supply chain คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับองค์กร

Supply Chain เป็นกิจกรรมที่มีการปะทะสัมพันธ์หรือ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างการจัดซื้อกับการตลาดในลักษณะที่เป็นบูรณาการ การค้าในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน ทั้ง Logistics และ Supply Chain ต่างก็จะมีภาระหน้าที่ (Function) แตกต่างกันในอาณาบริเวณของตลาด โดยต่างก็เป็นกิจกรรม ที่ส่งเสริมการตลาด และการผลิตโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน
คำนิยามของ Supply Chain เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบูรณาการ (Integration) และการจัดการในองค์กรที่ได้มีการนำห่วงโซ่อุปทานและยังรวมถึงกิจกรรมต่างๆ และเกี่ยวข้องกับกิจกรรมความสัมพันธ์และความร่วมมือ ซึ่งมีผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกรรมในอันที่จะสร้างเสริมให้มีมูลค่าเพิ่มในสินค้าแะบริการอันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
มีปฏิสัมพันธ์ของการจัดการกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุปทานของสินค้าและบริการ โดยการปฏิสัมพันธ์จะมีลักษณะเชิงบูรณาการ โดยมีเป้าหมายในการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม และสนองตอบต่อความต้องการของตลาด , การผลิต , การกระจายและการส่งมอบสินค้าและรวมถึงการสื่อสารสนเทศของข้อมูลและข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดต้นทุนรวมของธุรกิจและเพิ่มศักยภาพของการแข่งขัน จะเห็นได้ว่าการจัดการซัพพลายเชนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งของวัตถุดิบต้นน้ำ (Up stream Source) จนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการปลายน้ำ (Down stream Customers) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะครอบคลุมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดและการผลิต รวมถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าจนถึงมือผู้ต้องการสินค้า ทั้งนี้ กระบวนการต่างๆ จะมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะของบูรณาการ โดยมุ่งที่จะลดต้นทุนรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ อันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า ทั้งนี้ ภาระกิจสำคัญของ Supply Chain จะมุ่งให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด โดยเน้นในเรื่องประสิทธิผลเชิงต้นทุน และผลตอบแทนทางธุรกิจก็คือ Profit Gain Satisfaction
Supply Chain เป็นเรื่องของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการวางแผนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะ Marketing Mixed (ส่วนผสมการตลาด) ซึ่งจะเห็นว่า Supply Chain จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Product Concept (แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์) , Product Design , Raw Material Supply (การจัดหาวัตถุดิบ) , Production Process (ขบวนการเกี่ยวกับการผลิต) , Transport , Warehouse และ Distributor (การกระจายสินค้า) เพื่อจัดจำหน่ายต่อไปยังผู้ค้าส่งและร้านค้าปลีก จนกระทั่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย (End Consumers) กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า “ห่วงโซ่ของการสร้างมูลค่า” หรือ “VALUE CHAIN” มีนักวิชาการโลจิสติกส์บางท่าน กล่าวถึง Logistics และ Supply Chain ต่างเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้า (Cargoes Moving) โดยกล่าวว่า Logistics จะเป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะภายในองค์กร และ Supply Chain เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างองค์กร ซึ่งผู้เขียนก็จะมีความเห็นที่ต่างออกไป คือ “Logistics เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย (Moving) สินค้าและบริการ ทั้งในองค์กรและระหว่างองค์กร” ส่วน Supply Chain จะเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับองค์กร ทั้งที่เป็นส่วนอุปสงค์ (Demand) และส่วนของอุปทาน (Supply Side) ในลักษณะที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุน การเคลื่อนย้าย (Moving) ในความหมายนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะกิจกรรมขนส่งที่เป็น Transport เท่านั้น แต่รวมถึงกระบวนการในการส่งต่อที่มีผลทางกายภาพให้วัตถุดิบ-สินค้า-บริการ มีการเคลื่อนย้ายจาก Origin Sources ไป End Sources ส่วนคำว่า Chain นั้นผู้เขียนเจตนาที่จะใช้คำว่าห่วงโซ่ ไม่ใช้คำว่า “โซ่” เหมือนในบางตำรา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า Supply Chain เป็นเรื่องของบูรณาการ Chain ในความหมายที่เป็น ห่วงโซ่ จะให้เห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าเป็นห่วงของแต่ละโซ่ที่สอดคล้องร้อยรัดแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้องใน Supply Chain เข้าด้วยกันในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นวงแหวน
ความสำคัญของ Supply chain
Supply Chain มองตั้งแต่การผลิตไปถึงการขนส่ง และไปถึงลูกค้าเป็นเหตุผลให้คำว่า “การผลิต” เป็นคำต่อท้ายอยู่คู่กับ “โลจิสติกส์” เป็นการแสดงให้เห็นว่าทั้งสองส่วนต้องอยู่ควบคู่กันไป (โลจิสติกส์ Logistics เป็นเรื่องของการจัดการ การจัดสรร วางแผนให้อุปกรณ์ เครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ กิจกรรม และบุคลากร ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกันและเกิดประสิทธิผล บางครั้งโลจิสติกส์ (Logistics)เกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีรถบรรทุกหรือคลังสินค้าเลย แต่ต้องอาศัยการจัดการและระบบที่ดีเยี่ยม ในวันนี้ การจัดการเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ ต่างยืนอยู่บนการจัดการ)
สิ่งที่จะได้รับจากการจัดการ Supply Chain ที่ดี
- ช่วยปรับปรุงข้อมูลตัวเลขสินค้าคงคลังให้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
- ช่วยจัดการการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ใช้สอยภายในคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ช่วยสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
- ช่วยแนะนำนโยบายในการจัดเก็บสินค้าได้หลากหลายวิธีและง่ายในการค้นหา
- กำหนดและมอบหมายงานที่ดีที่สุดให้ผู้ปฏิบัติงาน (Task Optimization)
- ตรวจนับสินค้า(Physical Count)ได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องหยุดระบบ
- สามารถอิมพลิเมนท์ได้ทั้งในองค์กรที่มีคลังสินค้าเดี่ยว และในองค์กรที่มีมากกว่า 1คลังสินค้า
- สามารถอิมพลิเมนท์และขึ้นระบบได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในธุรกิจประเภทผู้ให้บริการขนส่ง ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง
สรุป
Supply Chain เป็นการจัดการบริหารตั้งแต่การขนส่งไปจนถึงการผลิตที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงความสัมพันธ์กับระบบ CRM คือ สินค้าผลิตได้มีคุณภาพ เสร็จตามกำหนดเวลา ลูกค้าได้สินค้าตามกำหนด และมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ก็เกิดความประทับใจ พึงพอใจในสินค้าและบริการ

CRM คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

Customer Relationship Management CRM(การบริหารลูกค้าสัมพันธ์)
การสร้าง การรักษาลูกค้าเก่าหรือ การทำบริการหลังการขายสนับสนุน หรือดูแลลูกค้า และความพยายามในการดึง Customer Value ออกมา และสร้างเป็นคุณค่าระยะยาว Life time Customer Value เช่น ลูกค้าถามรายละเอียดสินค้าที่จะใช้ หรือซื้อไปแล้วเข้าไปสอบถามข้อมูลการใช้งาน ต่อมามีการสร้างระบบ Call Center ขึ้นเพื่อตอบคำถามในการช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อความสะดวก บางครั้งเรียก Contact Center ช่วยในการบริการการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ การเชิญชวนลูกค้ามาร่วมกิจกรรม หรือจัด Promotion พิเศษสำหรับลูกค้า ดังนั้น CRM จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM เป็นทั้งกลยุทธ์และเครื่องมือขององค์การ และของพนักงานในองค์การที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ไม่ได้หมายความถึงเทคโนโลยีที่มีราคาแพง
CRM ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งในองค์กร แต่เป็นหน้าที่ของทุกๆคนที่ปฏิบัติงานร่วมกันในองค์กร การทำความเข้าใจ รู้จักลูกค้ามากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อองค์กรและผลิตภัณฑ์ขององค์กร การที่องค์กรจะรักษาลูกค้าไว้จะต้องเชื่อมโยงกันทุกหน่วยงาน เพื่อที่จะเก็บรวมรวมข้อมูลที่มีประโยชน์เพื่อนำไปใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เช่นรวบรวมข้อมูลยอดขาย ความต้องการของลูกค้า ออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้ามี Loyalty(ความประทับใจ)
ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ CRM จะมีค่า KPI ที่สำคัญๆดังนี้
1.อัตราการรักษาลูกค้า (Relation rate) ต้องใช้กลยุทธ์ CRM
2.อัตราการสูญเสียลูกค้า (Defection rate) ต้องใช้กลยุทธ์ Win back strategy
3.การหาลูกค้า (New customer) ในที่นี้ลูกค้ายังพอใจในบริการขององค์กร แต่ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น
ใน CRM มีความสัมพันธ์กับ Supply chain คือเมื่อลูกค้าต้องการอะไร เราจะต้องออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างไร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เราจะต้องรู้ว่าจะหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่ไหน หรือ Supplier ที่ไหน แนวทางการผลิตสินค้าหรือบริการ การหาช่องทางการขาย เป็นต้น
ความสำคัญของ CRM
การพัฒนาระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมีสิ่งสำคัญที่เป็นหลักของการบริหาร คือ การตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้าแต่ละราย ว่าลูกค้าแต่ละรายนั้นมีความสำคัญไม่เท่ากัน การที่องค์การสามารถทำให้ลูกค้าจงรักภักดีต่อองค์การได้นั้น เป็นหัวใจหลักในการนำองค์การไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจระยะยาว
CRM เป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้องค์การสามารถจัดการกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อองค์การ การบริหาร CRM จะประสบความสำเร็จได้นั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
1. มีการร่วมมือกันอย่างทุมเทในการดำเนินกลยุทธ์ CRM ของบุคลากรทุกระดับในองค์การ
2. พนักงานทุกระดับและทุกหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบ CRM อย่างถูกต้อง
3. เครื่องมือ CRM จะต้องสอดคล้องกับตัวระบบการให้บริหารเพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความสะดวกในการใช้งาน
4. ใช้ข้อมูลรายงาน CRM ที่จำเป็นและมีการแบ่งปันไปสู่ทีมงาน
5. การดำเนินกลยุทธ์ CRM นั้นไม่ใช่การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีราคาแพงเป็นหัวใจสำคัญแต่องค์การสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีราคาถูกแต่องค์การสามารถใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากเปรียบเทียบกับการนำเทคโนโลยี ไฮ-เทคเข้ามาใช้แล้วทำให้เกิดความวุ่นวาย และเพิ่มต้นทุนมหาศาล การใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ก็จะก่อให้เกิดคุณค่ามากกว่า
การทำ CRM จะเป็นตัวช่วยบอกองค์การว่าควรจะรักษาลูกค้าประเภทใด แนวคิดเกี่ยวการเก็บรักษาลูกค้าให้ได้นาน ๆ นั้นจะช่วยลดต้นทุน เนื่องจากถ้าองค์การสามารถรักษาลูกค้าให้อยู่กับองค์การได้ จะช่วยเป็นการลดต้นทุนที่เกิดจากการลดการทำงานให้เหลือน้อยครั้ง องค์การไม่ต้องเริ่มกระบวนการทำงานใหม่บ่อย ๆ ถ้าหากลูกค้าเข้า ๆ ออก ๆ จะทำให้เสียต้นทุนและไม่เกิดโอกาสในการทำกำไร ซึ่งโอกาสในการทำกำไรนั้นส่วนหนึ่งมาจาก การทำ (การซื้อต่อเนื่อง)Cross Selling และ (การซื้อต่อยอด)Up Selling
ลักษณะของ CRM ที่ดีมีดังนี้
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์และเข้าใจในระบบธุรกิจ
2. มีการรวบรวมช่องทางต่างๆ ไว้สำหรับติดต่อกับลูกค้าไว้อย่างครบถ้วน
3. สามารถรองรับฟังก์ชันที่มีเว็บเป็นพื้นฐาน
4. มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ที่ส่วนกลาง
5. สามารถประสานงานระหว่างระบบเก่ากับระบบใหม่ได้
6. เชื่อมโยงระบบ CRM เข้ากับระบบ ERP ได้
สรุป CRM คือ การรักษาลูกค้าเก่า ให้เกิดความประทับใจ มีความจงรักภักดีกับองค์กรให้นานที่สุด มีการนำระบบมาช่วยในการทำงานของ CRM มีการใชระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทำงานในองค์กร และมีความสัมพันธ์กับ Supply chain

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

4.ท่านต้องการที่จะเรียนในระบบ e-learning หรือไม่ เพราะเหตุใด

ถ้าในมุมมองและความคิดเห็นของข้าพเจ้า ไม่ต้องการที่จะเรียนในระบบ e-learning เพราะข้าพเจ้ามองว่ายังเป็นระบบการเรียนการสอนที่ยังไม่สมบูรณ์แบบในเรื่องของข้อมูล 2-way คือข้อมูลสวนทาง ในการถาม-ตอบ ข้อปัญหาต่างๆ ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา หรือการพูดคุยปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างเรียน เพราะการเรียนรู้สมัยใหม่นั้นไม่ได้เฉพาะจากการเรียนการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้นไม่สามารถเติบโตไปคนเดียวได้ นักศึกษาส่วนใหญ่จะได้เรียนรู้ถึงนักศึกษาคนอื่นที่มีความแตกต่างกันในลักษณะอาชีพ หน้าที่การงาน สังคมรอบข้าง แนวทางความคิดและแนวทางการพูดของแต่ละคน ซึ่งจะเป็นจุดที่สามารถปรับเปลี่ยนแนวความคิดเห็นของนักศึกษาในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันและอนาคต
หากระบบ e-learning มีการเปลี่ยนแปลงแบบ สามารถสนทนา ถาม-ตอบ ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาได้ทันที หรือนักศึกษามีการเรียนที่สามารถมองเห็นกันหรือปรึกษากันได้ ก็น่าสนใจไม่น้อยครับ